วีรกรรม400 กองอาทมาต
กองอาทมาต - ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยรบกับพม่า มีเหตุการณ์สำคัญที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้เกี่ยวกับกองอาทมาต ก็คือ การต่อสู้ของกองอาสาอาทมาต ชาวบ้านนักรบขมังเวทย์ 400 คน กับกองทัพพม่าที่เดินทัพมา 10,000 คน น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ชาวบ้าน 400 คน จากวิเศษชัยชาญ อ่างทอง สิงห์บุรี ที่หาญกล้าไปต่อกร หยุดทัพพม่า 10,000 คน เพื่อปกป้องแผ่นดินไทย(รบกันที่หาดหว้าขาว ปัจจุบัน คือ พื้นที่ตำบลอ่าวน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์)ต่อสู้ต้านพม่าไว้ได้เป็นเวลานาน ในที่สุดขาดกำลังคนสนับสนุน จึงพ่ายแพ้ พลีชีพเพื่อชาติทั้งหมดทั้งสิ้น 400 คน!!!
-หัวหน้ากองอาทมาต ชื่อ "ขุนรองปลัดชู" หากไม่มีวีรกรรมของขุนรองปลัดชู ก็จะไม่มีวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมาอย่างเด็ดขาด!!!
-ผู้นำกองอาทมาต รองจากท่านขุนรองปลัดชู ก็มีอีกหลายคน ชื่อ เพชร ใบ้ ไข่ น้อย เถร กระทิง ผาด โผน(พี่น้อง)ฯลฯ......
*** มีการสร้างอนุสาวรีย์"วีรชนคนกล้า"ไว้ให้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่ออนุชนรำลึกถึงคุณงามความดี จดจำวีรกรรมไว้เป็นแบบอย่างผู้กล้าหาญ เสียสละ ที่วัดสี่ร้อย ตั้งชื่อถนน ซอยในเขตเทศบาลตำบลบางรัก อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มาจนทุกวันนี้
เรื่องราวของ วีรกรรม400
นามของขุนรองปลัดชู กับ กองอาสาอาทมาท ดูเหมือนจะเลือนลางในความทรงจำของคนไทย ทั้งๆ ที่วีรกรรมในการรุกรบกับพม่า นั้นมีมาก่อน ชาวบ้านบางระจัน อาจกล่าวได้ว่า ถ้าไร้ศึกที่อ่าวหว้าขาว ก็อาจไม่มีศึกบางระจัน
ใน พ.ศ. 2294 พระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองพม่า แล้วก็แผ่พระราชอำนาจ รวบหัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งมอญ ไว้ได้หมดสิ้น ครองราชย์ 8 ปี ก็ เป็นเวลาที่ กรุงศรีอยุธยา ผลัดแผ่นดิน เป็นพระเจ้าเอกทัศน์ พม่าเห็นว่าไทย อยู่ในช่วงรอยต่อ มีความวุ่นวาย รวมทั้ง ต้องการลองกำลังหยั่งเชิง ซึ่งพอดีมีเหตุ เรือบรรทุกสินค้าของฝรั่ง ที่ค้าขายในเมืองอังวะ ถูกพายุซัดมาทางตะวันออก แวะมาซ่อมเรือที่มะริด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของตะนาวศรี พม่าก็ขอให้เจ้าเมืองตะนาวศรี ส่งฝรั่ง และ มอญ ที่เป็นกบฎ หนีมา จับตัวส่งไป ทั้งคน และ เรือ
ไทยตอบว่า ฝรั่งมาซ่อมเรือ ส่วนจะมีกบฎมอญมาหรือไม่นั้น หาทราบไม่
พม่าก็ถือ เป็นโอกาส หาเหตุ ส่ง มังระ ราชบุตรองค์ที่สอง กับ มังฆ้องนรธา คุมกำลัง แปดพันคน มาตีทวาย ซึ่งตอนนั้นกำลังแข็งเมืองอยู่
เขาว่า สมัยนั้น การข่าวของ อยุธยาผิดพลาด ….เจ้าเมืองกาญจนบุรี แจ้งว่าพม่าจะยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ พระเจ้าเอกทัศน์ ก็มีรับสั่งให้พระยาอภัยราชมนตรี ยกพลหนึ่งหมื่นไป ดักรอสกัด ที่นั่น และให้พระยาพระคลัง ยกพลอีกหนึ่งหมื่นไป เป็นทัพหนุนที่ ราชบุรี
ต่อ มามีข่าวจากเจ้าเมืองกำแพงเพชรว่า พม่าจะส่งมาทางด่านแม่ละเมาอีกทางหนึ่ง ทางกรุงศรีฯ ก็ส่งทัพไปสกัดอีกเช่นกัน
ด้านพม่านั้นเมื่อตีทะวายได้แล้ว ก็ต่อมายังมะริด และ ตะนาวศรี เจ้าเมืองจึงได้มีหนังสือมาแจ้งเมืองหลวง แต่ตอนนั้น กำลังพลส่วนใหญ่ได้ใช้ไปรักษาสองด่าน แรกหมดแล้ว จึงเหลือเพียงกำลังเล็กๆ ที่ยกไปรักษามะริด และ ตะนาวศรี พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดให้ พระยายมราช เป็นแม่ทัพคุมกำลัง สามพัน และ พระยารัตนาธิเบศร์คุมทัพหนุน สองพัน
ในเวลานั้น มีครูฝึกเพลงอาวุธอยู่ในเมืองวิเศษไชยชาญอยู่ผู้หนึ่ง ชื่อ ครูดาบชู ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ให้เป็น ปลัดเมือง กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวบ้านจึงเรียนว่าขุนรองปลัดชู
เมื่อท่านทราบข่าว ว่าพม่ายกมาตีมะริด ตะนาวศรี ท่านก็สละตำแหน่ง ปลัดเมืองทันที แล้วนำชายฉกรรจ์ ที่เป็นลูกศิษย์ประมาณ 400 คน เดินทางมายังพระนคร เพื่อทูลขออาสาออกศึกกับพม่า
โดยไม่ต้องรอคำสั่ง ย้าย แต่ประการใด
พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “ กองอาทมาต ”
พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้สั่งให้ขุนรองปลัดชูคุมกองอาทมาต ไปตั้ง สกัดกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว ตั้งอยู่เหนือที่ว่าการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันนี้
พอกองทัพพม่ายกทัพผ่านมา ขุนรองปลัดชูจึงคุม ทหารเข้าโจมตีรบด้วยอาวุธสั้นถึงตะลุมบอน ถึงแม้ทหารของไทยจะน้อยกว่า แต่ก็ฆ่าฟันพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก การต่อสู้ผ่านไป 1 คืน ถึงเที่ยงวัน รุ่งขึ้นก็ยังไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ เพราะพม่ายกทัพหนุนเข้ามาช่วยอีก
ด้วยกำลังที่น้อยกว่าจึงเหนื่อยอ่อนแรง ในที่สุดก็ถูกพม่ารุกไล่โจมตีแตกพ่ายยับเยิน แต่ทหารกองอาทมาต มีวิชาอาคมแก่กล้า ฟันแทงไม่เข้า ทหารพม่าจึงไสช้างเข้าเหยียบย่ำทหารกองอาทมาตตายเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็ถูกไล่ลงทะเลจมน้ำตายไปก็มาก ในที่สุด ขุนรองปลัดชู พร้อมด้วยทหารกองอาทมาตแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน ก็เสียชีวิตด้วย ฝีมือของพม่า
ชาววิเศษไชยชาญ เมื่อทราบข่าวก็โศรกเศร้าเสียใจ จึงได้แต่ภาวนาขอบุญกุศล ที่ได้สร้างสมไว้จงเป็นปัจจัยส่งผลให้ดวง วิญญาณของทหารกล้าได้ไปสู่สุคติ ความเงียบเหงาวังเวงเกิดขึ้น หมดกำลัง ใจในการทำมาหากิน ไม่มีอะไรดีไปกว่าการร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เป็นที่ระลึกถึงผู้พลีชีพด้วย การสร้างวัดสี่ร้อย ในปี พ.ศ.2313 ใช้ชื่อสี่ร้อย ตามจำนวนกองอาทมาตสี่ร้อยคน ที่ไม่ได้กลับมา เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชน รุ่นหลังของชาวเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อเป็นการย้ำเตือนความทรงจำให้ระลึกถึง บรรพบุรุษที่พลีชีพ เพื่อปกป้องปฐพีถึงกับเสียชีวิต โดยชื่อว่า วัดสีร้อยดสี่ร้อย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนทั่วไป
เจ้าอาวาสในขณะนั้นก็ได้ สร้างเจดีย์ ไว้เป็นที่รวบรวมดวงวิญญาณของ ชาวแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่เสียชีวิตจำนวน 400 คน
วีรชนคนกล้าที่ถูกลืม ขอเคารพดวงวิญญาณให้สู่สุขคติ
ตอบลบขอขอบคุณบรรพบุรุษที่เสียสละเลือดเนื้อรักษาชาติบ้านเมือง สัญญาตรงนี้เลยค่ะว่าจะไม่ทำการใดใดที่เป็นการทรยศประเทศชาติเด็ดขาด
ตอบลบคนดีมักถูกมองข้ามเสมอ
ตอบลบปัจจุบันบ้านเมืองก็แตกแยกอยู่แล้ว หรือว่าแตกแยกมาตั้งแต่สมัยโบราณ คนดีเพียงกลุ่มเดียวแก้ไขอะไรใม่ใด้ มีน้อยไป
ตอบลบดูจนจบบอกอย่างไม่อายน้ำตาไหลครับ..แล้วก็คิดถึงสมัยนี้เหมือนกันมากคือมีคนเลวมากกว่าคนดี...บ้านเมืองของเราถึงไม่พัฒนาไปถึงไหนเลยเพราะมันมีคนจ้องแต่จะโกงบ้านโกงเมือง
ตอบลบรบใครรบได้้...แต่คนไทยอย่ารบกันเอง
ตอบลบผมอยากไปช่วยท่านนักรบ๔๐๐นายสู้กับข้าสึกชาติที่แล้วผมคงจะเคยเป็นทหารในสมัยโบราณมาก่อนในความรู้สึกส่วนตัวของผมเองชอบหนังแบบนักรบไทยในโบราณมากเป็นชีวิตจิตใจ
ตอบลบ